14 มกราคม 2554

การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม (พ.ศ.2554-2558)

จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 1/2554 
ที่นี่มีคำตอบ โดย ดร.รังสรรค์ มณีเล็
http://210.246.188.61/ewtadmin/ewt/demo_0850/ewt_news.php?nid=527&filename=index_plan



ถึง พี่น้องชาวแผนและผู้สนใจทุกท่าน            สวัสดีปีใหม่ทุกท่านครับ ช่วงวันหยุดปีใหม่ได้มีโอกาสทำบุญ อ่านหนังสือ ทบทวนเรื่องราวต่างๆในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า ยังมีเรื่องราวอีกหลายเรื่องที่ท้าทาย และยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ และควรมาดำเนินการต่อในปี 2554 เช่น เรื่อง การระดมและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษา ปัญหาเด็กไม่เข้าเรียน เด็กออกกลางคันระหว่างเรียน  คุณภาพและคุณธรรมของนักเรียน คุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น  ฉบับนี้มีเรื่องคุยกับท่าน เรื่อง การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม , แผนปฏิบัติการ ปี 2554 และการรับนักเรียน ปี 2554  ดังนี้
            การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม (พ.ศ.2554-2558)
             สมศ.ได้ปรับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สามระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ ซึ่งเดิมมี 27 มาตรฐาน แต่ประกาศใช้แค่14 มาตรฐาน แต่การประเมินรอบที่สามนี้ มีเพียง มาตรฐาน  คือ
            1) มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษา
            2) มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            3) มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา
            4) มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในมีตัวบ่งชี้ 12 ตัว ได้แก่
            1)  ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
            2) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
            3) ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
            4) ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็นและมีจิตสาธารณะ
            5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
            6) ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            7) ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
            8)  พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัดเป็นไปตามกฏกระทรวง
            9) ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
            10) ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
            11) ผลการดำเนินการโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา
            12) ผลการส่งเสริมเพื่อพัฒนาสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐาน รักษามาตรฐานและยกระดับมาตรฐาน
ซึ่งตัวบ่งชี้ดังกล่าว แบ่งเป็น กลุ่ม คือ
            กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ได้แก่ ตัวบ่งชี้ 1-8  น้ำหนัก  80 คะแนน
            กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์  ได้แก่ ตัวบ่งชี้ 9-10  น้ำหนัก  10 คะแนน
            กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรฐานส่งเสริม  ได้แก่ ตัวบ่งชี้ 11-12  น้ำหนัก  10 คะแนน
            แผนปฏิบัติการ ปี 2554
               ขณะนี้ แผนปฏิบัติการ ปี 2554  ของ สพฐ.ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว สนผ.ก็ได้ประสานกับเจ้าของโครงการต่างๆในส่วนกลางในเร่งจัดสรรงบประมาณโดยเร็ว ซึ่งหมายรวมถึงงบแลกเป้าเพิ่มเติมด้วย เพื่อที่สำนักงานเขตพื้นที่จะได้ทำแผนปฏิบัติการให้เสร็จเสียที เพราะขณะนี้ก็ผ่านไป เดือนแล้ว  และพร้อมกันนี้ สพฐ.จะให้สำนักงานเขตพื้นที่แต่ละแห่งกำหนดเป้าหมายความสำเร็จและมาทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง สพฐ.กับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเรียนว่าข้อตกลงในการนำส่งบริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน(SDA : Service Delivery Agreement) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การนำส่งผลผลิต และเมื่อวันประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ เมื่อวันที่6-7 ที่ผ่านมา สพฐ.ได้นำร่าง SDA แจกให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ไปแล้ว แต่จะแจ้งเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งครับ  ในขณะที่งบประมาณ ปี 2554 เพิ่งเริ่มจะใช้งบประมาณ เราก็เริ่มที่จะตั้งงบประมาณ ปี 2555 กันแล้ว ทิศทางก็ค่อนข้างชัดเจน  คือ ต้องสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ นักเรียนต้องมีศักยภาพในการแข่งขันสูง ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องเก่ง มีคุณธรรมและมีขวัญกำลังใจดี โรงเรียนต้องมีคุณภาพ การบริหารจัดการต้องมีประสิทธิภาพ
            สิ่งที่ผมคิดว่าถ้าหากดำเนินการได้ก็จะช่วยเอื้อต่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ จะขอตั้งงบครูธุรการให้ครบทุกโรงเรียน ของบครูพี่เลี้ยงเด็กพิการเหมือนที่เคยได้ปี 2553 จะขอตั้งงบอาคารเรียน อาคารประกอบ ไฟฟ้า ประปา คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตให้เพียงพอ ถ้าของบปกติไม่ได้ ก็จะทำโครงการลงทุนเพื่อการศึกษาลักษณะรัฐร่วมเอกชน (PPP : Public Private Participation) ซึ่งผมเคยขายความคิดในจดหมายฉบับก่อนๆที่ผ่านมาแล้ว เป็นลักษณะ สร้างก่อน ซื้อก่อน จ้างก่อน ผ่อนทีหลัง  โดยจะหาคนมีเงินมาสร้างโรงเรียน ซื้อคอมพิวเตอร์  ต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ขยายเขตไฟฟ้าให้พอเพียงต่อความต้องการทั้งประเทศ แล้วให้รัฐบาลผ่อนใช้เป็นรายปี ซึ่งทำเหมือนบ้านจัดสรรและสินค้าเงินผ่อนไง เด็กและครูของเราจะได้ไม่เสียโอกาสรุ่นแล้วรุ่นเล่า ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องยาก เพราะไปขัดกับระเบียบบริหารงบประมาณ ที่ระบุว่างบประมาณปีใดให้ใช้เฉพาะปีนั้น  จะขอผูกพันข้ามปีก็ไม่เกินอายุรัฐบาล ถึงแม้ว่าจะสำเร็จยาก ทำเป็นภาพรวมทั้งประเทศไม่ได้ ก็จะขอยกเว้นระเบียบฯและทำเป็นบางเขตพื้นที่
            การรับนักเรียน ปี 2554
            ขณะนี้เข้าใกล้ฤดูกาลรับนักเรียน ปี 2554 อีกแล้ว นโยบายและแนวปฏิบัติ ปี 2554 ไม่ต่างจากปี 2553 มากนัก สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือ
            1) โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงให้รับนักเรียนเพียงรอบเดียว
            2) จำนวนนักเรียนต่อห้องต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ คือ ก่อนประถมศึกษา ไม่เกิน 40 คน  ป.1-ม.ไม่เกิน 50 คน เด็กพิการ ไม่เกิน 15 คน ห้องเรียนEP/MEP ไม่เกิน 30 คน
            3) การรับนักเรียนเข้า ม .ให้รับเด็ก ม.จากโรงเรียนเดิมตามศักยภาพ และสามารถรับเด็กจากโรงเรียนอื่นได้ไม่เกิน ร้อยละ 20
            4) ให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาจากเด็กที่ได้เข้าเรียนแล้ว แต่ไม่ให้ผูกพันกับการเข้าเรียน
            5) ห้ามมีการฝากเด็กเข้าเรียนทุกกรณี
 ฯลฯ