31 มีนาคม 2555

ก.ค.ศ.เตรียมประเมินคงวิทยฐานะครู 4 แสนราย


 
 

.....
ชี้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ กำหนดให้มีการประเมินครูที่ได้รับวิทยฐานะ ครบ 3 ปี เช่น ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ ให้โอกาส 3 ครั้ง ไม่ผ่านงดจ่ายวิทยฐานะทันที
     เมื่อวันที่ 26 มี.ค.55 รายงานข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) วันที่ 29 มี.ค.นี้ ที่มีนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน สำนักงาน ก.ค.ศ.จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นระยะๆ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะ ที่ได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งตามมาตรา 55 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 หรือการประเมินคงวิทยฐานะ
    ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดทำร่างหลักเกณฑ์การประเมินไว้แล้ว แต่ต้องเสนอให้ที่ประชุมว่าจะให้ดำเนินการประเมินคงวิทยฐานะหรือไม่ เพราะทางสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ดูระเบียบของส่วนราชการอื่นๆ แล้วไม่มีการประเมินในลักษณะดังกล่าว เช่น กรณีของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ตำแหน่งศาสตราจารย์ (ศ.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) มีการกำหนดให้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการดังกล่าวจะต้องมีการแสดงผลงานทางวิชาการในแต่ละปี แต่ไม่ได้มีผลต่อตำแหน่งวิชาการ เป็นต้น 
     รายงานข่าวระบุด้วยว่า หากที่ประชุม ก.ค.ศ.มีมติไม่เห็นชอบให้ดำเนินการประเมินคงวิทยฐานะ จะต้องมีการเสนอแก้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อตัดมาตรา 55ออก ซึ่งหากไม่ดำเนินการเช่นนี้ทางสำนักงาน ก.ค.ศ.ก็ต้องเร่งดำเนินการเพราะใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ ระบุเอาไว้ให้ประเมินคงวิทยฐานะ ขณะที่กรมบัญชีกลาง ก็มีความเป็นห่วงเพราะในแต่ละปีมีข้าราชการครูฯ ที่ได้รับวิทยฐานะจำนวนมาก และต้องใช้งบประมาณปีละแสนกว่าล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือน
     ด้านนายพลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง ผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. ในฐานะประธานคณะทำงานยกร่างหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ได้เสนอมาที่ ก.ค.ศ.ตั้งแต่ปี 2552 แต่ที่ผ่านมาเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะมีการปรับเปลี่ยนตลอด จึงไม่สามารถใช้เกณฑ์ประเมินคงวิทยฐานะได้ แต่ขณะนี้ทุกอย่างนิ่งแล้ว ซึ่งจะประเมินผู้ที่ได้รับวิทยฐานะต่างๆ ครบ 3 ปี  เช่น ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เป็นต้น โดยให้โอกาสประเมิน 3ครั้งหากไม่ผ่าน ก็จะงดจ่ายเงินวิทยฐานะ ซึ่งปัจจุบันนี้มีข้าราชการครูฯ ที่อยู่ในเกณฑ์เข้ารับประเมินคงวิทยฐานะมากกว่า 4 แสนราย

Source :  http://www.kruthai.info/view.php?article_id=376
             และ สยามรัฐ

21 มีนาคม 2555

เอกสารจากเวบสุรินทร์

http://www.slideshare.net/Surinthai/ss-4540660
การใช้หลักสูตรฯ
http://www.slideshare.net/Surinthai/ss-4540669
การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
http://www.slideshare.net/Jiraporn07/ss-5198585
แผนการจัดการเรียนรู้
http://www.slideshare.net/teacherkobwit/30-4068902
30 เทคนิคการสอน
http://www.slideshare.net/Surinthai/ss-4540889
คู่มือวิทยากรเรื่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
http://www.slideshare.net/phdew2010/2553-3601400
หลักสูตรปรับปรุง 2553

14 มีนาคม 2555

วันนี้-ตักบาตรแต่เช้าเลย

ปกติ admin จะตื่นเช้าตรู่มากๆ
ก็มาทำอะไรก๊อกๆแก๊กๆ  เช่นต้มกาแฟ
ออกกำลังกาย ฮูลาฮูบ   เดินไปหน้าบ้าน
เดินมาหลังบ้าน  รดน้ำต้นไม้
หูก็ฟังเพลงธรรมะ ....
ไม่ค่อยได้ไปวัดหรอก   เลยฟังเพลงเอา

วันนี้แปลก  ....

มีพระมายืนอยู่ประตูหลังบ้าน 4 รูป
อาจารย์ผู้ชายเรียกเราก็รีบวิ่งไปเอากุญแจมาเปิด
ปากก็บอกโอ้ดีจัง คุณพระมาโปรด
พระท่านก็อายุราวๆ  15-40 ปี
มีรูปหนุ่มๆสรวมแว่นด้วย
ไม่ได้คิดอะไร  คิดแต่ว่า ข้าวเราก็ไม่ได้หุง  เพราะดื่มกาแฟตอนเช้า
ล้วงกระเป๋าก็พบแบ๊งค์อยู่ 5 ใบ
ก็เลยใส่บาตรละ 1 ใบ  
รับพรเสร็จ

พระก็บรรยายว่าเดินทางมาจากอุบล
ไปเรื่อยๆ  จะไปใต้   ยังต้องการงบเพิ่มอยู่อีกราวๆหนึ่งพันกว่าบาท!

เราก็เลยตบกระเป๋าบอกว่าหมดแล้ว
นิมนต์ไปทางโน้น  ก็แล้วกัน
ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร  มีอะไร  มีเท่าไร  ก็ทำเท่านั้นก็แล้วกัน
แล้วพระก็เดินไปทางชลประทาน
เราก็กลับมาดูหนังสือที่ค้างไว้

สักพัก คุณยายเหนียงก็เอาขนมตาลมาขายให้
เจ้าเก่าขนมตาลอร่อย   ยายเหนียงบอกว่า เห็นคุณครูคุยกับพระอยู่
ก็เลยไม่ได้หยุด   ตาเริญว่าไม่รู้พระมาจากที่ไหน  มาบ่อยจัง
เคยได้ที่บ้านไหนก็จะมาแล้วมาอีก  คุณครูระวังหน่อยนะ
ให้ไปเท่าไรล่ะเมื่อกี้!!

คุณครูผู้ชายเลยบอกว่าช่างมันเถอะ   ทำบุญไปแล้ว ก็ถือว่าทำบุญ
จะได้สบายใจ.

จริงๆเราก็เคยนึกอยู่นะเพราะเคยจอดรถรับพระ 3-4 รูปที่ยืนโบกอยูข้างทาง
ทุ่งกุลาร้องไห้เนาะ   เราก็สงสาร   ก็ให้นั่งกะบะท้าย   เพราะเราก็เป็นผู้หญิง
รถกะบะตอนเดียวด้วย  พอมาถึงเมืองก็ปล่อยท่านลง  
พระรูปหนึ่่งก็ใจกล้าขอเงินเพื่อขึ้นรถต่อไปศรีสะเกษซะนี่

เออนะ   รถเรายังไม่ได้เติมน้ำมันเลย  จะหาเงินมาให้พระท่านดำเนินต่อ

โยมก็ลำบากนะ  คุณพระ.

06 มีนาคม 2555

จำอวด ′โอเน็ต′ - อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ แห่งมติชน






.....

โดย...นิธิ เอียวศรีวงศ์

ข้อสอบโอเน็ตปีนี้ ก็เหมือนกับทุกปีที่ผ่านมา คือถูกสื่อต่างๆ นำมาหัวเราะเยาะเย้ยกันอย่างทั่วถึง และคำอธิบายของผู้รับผิดชอบการออกข้อสอบก็เหมือนทุกปีที่ผ่านมา นั่นคือต้องการให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เป็น

ช่างเป็นคนที่อดทนมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์อะไรเช่นนี้

แม้ จะน่าเยาะเย้ยให้เป็นที่น่าขบขันอย่างไร ความมุ่งหมายของคณะกรรมการออกข้อสอบไม่ใช่สิ่งที่น่าเยาะเย้ยแต่ประการใด ซ้ำยังน่าส่งเสริมอีกด้วย เพราะการศึกษาไทยขาดการฝึกให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง จะว่าไปการคิดวิเคราะห์เป็นหัวใจของการศึกษาเลยทีเดียวก็ว่าได้ โดยเฉพาะในการศึกษาของโลกปัจจุบัน เพราะข้อเท็จจริงต่างๆ นั้นล้าสมัยไปอย่างรวดเร็วจนกระทั่งไร้ประโยชน์ แต่การคิดวิเคราะห์เป็นต่างหากที่จะติดตัวนักเรียนไปตลอดชีวิต และทำให้เขารู้จักปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงนานาชนิดซึ่งถั่งโถมเข้าสู่ ชีวิตของเขาได้ตลอดไป

ความล้าหลังของการศึกษาไทยก็อยู่ตรงที่ไม่สนใจ จะให้นักเรียนคิดวิเคราะห์เป็นนี่แหละ ความมุ่งหมายของคณะกรรมการออกข้อสอบจึงนับว่าน่าสรรเสริญ แต่ไม่มีทางจะประสบความสำเร็จได้เป็นอันขาด เพราะเครื่องมือที่คณะกรรมการมี คือการออกข้อสอบเป็นแค่ไม้จิ้มฟัน ย่อมไม่อาจไปงัดไม้ซุงความล้าหลังของระบบการศึกษาไทยได้อย่างแน่นอน งัดไปก็เป็นที่ขบขันของคนทั่วไปอย่างที่เกิดขึ้นทุกปี

ข้อสอบเช่น หากเกิดความต้องการทางเพศแล้ว วัยรุ่นควรทำอย่างไร คำตอบมีให้เลือกนับตั้งแต่เล่นกีฬาไปถึงชวนกิ๊กไปดูหนัง ไม่ใช่สิ่งน่าขำในตัวเอง แต่ไม่ว่านักเรียนจะเลือกคำตอบข้อไหน ก็ไม่มีทางที่ผู้ตรวจจะรู้ได้เลยว่า เด็กคิดวิเคราะห์เป็นหรือไม่ เพราะการคิดวิเคราะห์เป็นกระบวนการคิด ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง (ไม่ว่าจะมีข้อเดียวหรือหลายข้อ) ไม่ว่าจะเลือกตอบข้อไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาสำนึกถึงเงื่อนไขต่างๆ ถี่ถ้วนสักเพียงไร (ในวัยของเขา) และนำเงื่อนไขเหล่านั้นมาคำนวณผลได้ผลเสียจากการตัดสินใจของเขามากน้อยเพียง ไร ฉะนั้นแม้นักเรียนจะตอบว่า ควรพากิ๊กไปดูหนัง พลาดพลั้งจะได้พาเข้าโมเตลให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไป ก็อาจแสดงการคิดวิเคราะห์ที่ดีได้ เพราะได้นำเงื่อนไขทุกประเภทมาไตร่ตรองจนรอบคอบแล้ว และสรุปว่าในสถานการณ์ของเขา นี่คือคำตอบที่เหมาะสุด

เขาคิดอย่างไร สำคัญกว่าเขาเลือกจะทำอะไร
เพลง สายฝนควรจะมีสีอะไรก็เหมือนกัน สีอะไรก็ได้ แต่เขาให้เหตุผลที่สอดรับกับจินตนาการของเขาได้มากน้อยอย่างไรต่างหาก ที่จะเป็นตัววัดความสามารถของเขา แม้แต่ให้สีที่เหมือนกับศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์ ก็ไม่มีอะไรผิด อยู่ที่ว่าเขาใช้วิธีคิดอย่างไร จึงทำให้เลือกสีนั้นๆ ต่างหาก

เห็น ได้ชัดว่า ข้อสอบของคณะกรรมการไม่สามารถวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ เพราะคณะกรรมการไปมุ่งที่คำตอบ แทนที่จะมุ่งไปยังกระบวนการคิดวิเคราะห์ ข้อสอบปรนัยที่มุ่งไปทางคิดวิเคราะห์ก็มีเหมือนกัน คือให้เลือกระหว่างเหตุผล ไม่ใช่คำตอบที่ถูก แต่ผมเชื่อโดยไม่เกรงกลัวอาญาสิทธิ์ของนักวิชาการด้านการวัดผลว่า แม้กระนั้น ข้อสอบปรนัยก็จำกัดเพดานความคิดเอาไว้ ให้เลือกได้เฉพาะกระบวนการคิดของผู้ออกข้อสอบ เด็กอัจฉริยะมีแนวโน้มจะสอบตก เพราะเขาสามารถคิดนอกกรอบนั้นได้อีกมาก หรือในทางตรงกันข้าม เขาอาจสอบได้ที่หนึ่ง เพราะเขาอัจฉริยะพอที่จะคิดอะไรให้โง่ลงเท่ากับระดับผู้ออกข้อสอบ นั่นหมายความว่าเขาตกอยู่ในระบบการศึกษาที่จำกัดศักยภาพของเขาไปพร้อมกัน

ดัง นั้น อุปสรรคของการออกข้อสอบที่ต้องการการคิดวิเคราะห์จึงไม่ได้อยู่ที่ตัวข้อสอบ แต่อยู่ที่ในทางปฏิบัติ กล่าวคือหากเป็นข้อสอบอัตนัย ที่ต้องตรวจข้อสอบเป็นแสนในแต่ละวิชา ย่อมเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ

ตรงนี้แหละครับที่ต้องการการ "คิดวิเคราะห์"
โอ เน็ตมีความสำคัญอย่างไร เท่าที่ผมทราบคือ 1.ต้องการมาตรฐานกลางในระบบการศึกษา 2.จึงเท่ากับประเมินสมรรถภาพของโรงเรียนไปด้วยในตัว ทำให้รู้ว่าต้องเสริมสมรรถภาพของแต่ละโรงเรียนไปทางใด ใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.ทำให้นักเรียนที่มุ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องใส่ใจกับวิชาอื่นๆ ซึ่งไม่ได้อยู่ในการสอบเข้าด้วย (ข้อนี้น่าจะไปแก้ที่กระบวนการคัดเลือกคนเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ง่ายกว่าและดีกว่าหรอกหรือครับ?) 4.ผมไม่ทราบ

เพื่อบรรลุจุด ประสงค์ดังกล่าว มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ ที่ไม่ใช่การจัดสอบพร้อมกันทั้งประเทศเช่นนี้ ลองคิดใหม่เถิดครับ ผมเชื่อว่ามี หากผู้ที่เกี่ยวข้องเริ่มคิดจากเป้าหมาย แทนที่จะคิดจากการสอบซึ่งเคยทำมาหลายครั้งแล้ว แต่ผมไม่เชี่ยวชาญพอจะไปเสนออะไรได้

หากในที่สุดยังสรุปมาที่การสอบ ทั้งประเทศเหมือนเดิม ก็น่าจะจัดสอบสักเดือนละสองครั้งหรือสี่ครั้ง หมายความว่านักเรียนแต่ละคน ไม่ว่าจะมาจากโรงเรียนใด สามารถสมัครเข้าสอบได้เสมอทั้งปี แม้แต่เรียนเลยชั้นนั้นไปแล้ว ก็สามารถขอสอบได้ แต่ผลการเรียนของชั้นที่ผ่านมาแล้วนั้นยังไม่เป็นทางการ จนกว่าจะมีคะแนนของโอเน็ตไปคิดร่วมด้วย รายละเอียดอื่นๆ เช่นคนหนึ่งสอบโอเน็ตได้กี่ครั้ง, ต้องเพิ่มบุคลากรเพื่อการนี้สักเท่าไร ฯลฯ ก็ค่อยคิดกันในภายหลัง

คราวนี้จะออกข้อสอบที่เน้นการคิดวิเคราะห์อย่างไรก็น่าจะทำได้ โดยตรวจวัดกันที่กระบวนการคิด ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง
แม้ สามารถจัดการสอบที่วัดกระบวนการคิดได้แล้วในทางปฏิบัติ โอเน็ตอย่างเดียวก็ยังไม่อาจเปลี่ยนการศึกษาไทยมาสู่การคิดวิเคราะห์ได้อยู่ ดี มีเงื่อนไขอีกหลายอย่างที่ผมคิดว่าจำเป็นอย่างขาดไม่ได้ ในระบบการศึกษาที่เน้นการคิดวิเคราะห์

อย่างแรกคือหลักสูตร หลักสูตรในการศึกษาไทยทุกระดับตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า มีความรู้ที่ขาดไม่ได้อยู่ก้อนหนึ่ง ซึ่งนักเรียนต้องรู้และเข้าใจ วิธีพิสูจน์ว่ามีคือจำได้ และวิธีพิสูจน์ว่าเข้าใจคือทำโจทย์หรือตอบถูก (อันเป็นวิธีพิสูจน์ความเข้าใจที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก เพราะนักเรียนอาจเอาการจำมาใช้ทำโจทย์แทนการคิด)

ถามว่าความรู้อย่าง ที่กล่าวนี้จำเป็นจริงหรือไม่ คำตอบคือจริง แต่จำเป็นเพราะเป็นเพียงเครื่องมือสื่อสารหรือข้อตกลงสำหรับการเรียนอะไร อื่นๆ ที่กว้างและลึกขึ้นเท่านั้น เช่นวิทยาศาสตร์สอนเรื่องความร้อน ไม่ได้สอนเรื่องความเย็น ก็เป็นเพียงข้อตกลงเบื้องต้นว่า เราจะศึกษาพลังงานตัวนี้จากแง่ของอุณหภูมิ (ชื่อก็บอกแล้วว่าคือหน่วยวัดความร้อน) โดยไม่เกี่ยวกับตัวเราผู้ศึกษา สิ่งที่มีอุณหภูมิน้อยๆ เรารู้สึกว่าเย็น แต่นั่นเพราะเราวัดจากความรู้สึกของเรา ไม่ใช่จากสิ่งนั้น จึงตกลงร่วมกันว่าเราจะดูสิ่งต่างๆ จากแง่ของความร้อนเท่านั้น หรือบวกกับลบเป็นความรู้พื้นฐานของการคำนวณ ที่เหลือคือกลวิธีที่ทำให้เราเห็นความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของสิ่งต่างๆ ในเชิงประจักษ์ (ด้วยตัวเลข) เท่านั้น

แต่ก้อนความรู้ดังกล่าวนั้น ถูกพอกให้ใหญ่ขึ้นในเมืองไทย จนกระทั่งไม่เหลือการเรียนรู้อะไรอื่นๆ อีกนอกจากความรู้ก้อนนั้น ดังนั้นการศึกษาที่เน้นการคิดวิเคราะห์จึงต้องทำให้ก้อนความรู้ในหลักสูตร เล็กลง แต่นักเรียนแต่ละคนจะค่อยๆ สร้างความรู้อื่นๆ ไปพอกก้อนความรู้นั้นด้วยตนเอง จบไปแล้วต่างคนต่างมีความรู้คนละก้อน ซึ่งเขาสร้างมันขึ้นมาเอง จึงไม่เหมือนกัน (แม้มีฐานเหมือนกัน)

อย่างที่สองคือครู การฝึกหัดครูต้องเปลี่ยนมาสร้างสมรรถภาพของครูที่จะจัดการเรียนรู้ภายใต้ หลักสูตรใหม่เช่นนี้ กระทรวงศึกษาฯต้องมีกุศโลบายที่จะทำให้ครูเปลี่ยนมารองรับหลักสูตรใหม่ โดยไม่ใช้อำนาจลูกเดียว (นั่นไม่อาจเรียกว่ากุศโลบายได้)

อย่างที่สามคือการบริหารโรงเรียน เพราะครูและเป้าหมายของหลักสูตรใหม่ควรได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขัน ระบบบริหารที่เป็นอยู่เวลานี้ไม่ได้ผล จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข โดยสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างเขตการศึกษากับกระทรวง มีเงื่อนไขที่ล่อใจหลายอย่างให้ผู้บริหารโรงเรียน และผู้บริหารเขตการศึกษา อยากร่วมในการปฏิรูปการศึกษา

อย่างที่สี่คือทำให้สื่อการศึกษาที่มีอยู่เวลานี้ น่าสนใจมากขึ้นกว่าการ "ติว" วิชาต่างๆ เพราะถึงอย่างไรในหลักสูตรใหม่ ก็ไม่มีก้อนวิชาตายตัวให้ "ติว" มากนักอยู่แล้ว

อย่างที่ห้าคือเสรีภาพ ไม่มีการศึกษาที่เน้นการคิดวิเคราะห์ใดจะเกิดขึ้นได้ โดยปราศจากบรรยากาศของเสรีภาพ ไม่แต่เฉพาะบรรยากาศในห้องเรียนอย่างเดียว บรรยากาศของการปฏิบัติหน้าที่ของครู, ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

หรือแม้ถึงที่สุดคือบรรยากาศของสังคมโดยรวม ก็ต้องเปี่ยมด้วยเสรีภาพ
เสรีภาพ เกิดขึ้นได้ก็เพราะมีกฎระเบียบที่แน่ชัดซึ่งกำหนดสิทธิอันล่วงละเมิดมิได้ ของแต่ละฝ่าย ครูทำอะไรได้บ้างที่ผู้บริหารไม่มีอำนาจเข้ามาแทรกแซง, ผู้บริหารโรงเรียนทำอะไรได้บ้างที่ผู้ใหญ่เหนือขึ้นไปแทรกแซงไม่ได้ จนถึงที่สุดพลเมืองทำอะไรได้บ้าง โดยอาญาสิทธิ์ต่างๆ และอิทธิพลต่างๆ ไม่อาจเข้ามาแทรกแซงได้

เห็นไหมครับว่า เรื่องมันใหญ่กว่าที่คณะกรรมการออกข้อสอบโอเน็ตจะทำอะไรได้ ในขณะที่กระทรวงศึกษาฯของทุกรัฐบาลมักจะถูกมอบหมายให้แก่นักการเมืองที่ไร้ จินตนาการโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นคณะกรรมการออกข้อสอบโอเน็ตจึงทำได้เพียงเป็นจำอวดหน้าม่าน ปีแล้วปีเล่าไปอย่างต่อเนื่อง ไว้ปีหน้าค่อยดูตอนต่อไป

ที่กล่าวมานี้ ด้วยความเห็นใจอย่างยิ่งนะครับ
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 5 มีนาคม 2555)

ที่มา 




05 มีนาคม 2555

ขอเชิญสมัครเข้ารับทุนฝึกอบรม IATSS Forum รุ่นที่ ๕๐ (ประเทศญี่ปุ่น)

The International Association of Traffic and Safety Science (IATSS Forum) แห่งประเทศญี่ปุ่น ประกาศรับสมัครผู้รับทุนฝึกอบรม IATSS Forum รุ่นที่ ๕๐ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ณ เมืองSuzuka ประเทศญี่ปุ่น  เป็นระยะเวลา  ๕๗ วัน ในระหว่างเดือนกันยายน ถึง  พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 
อ่านต่อ click http://www.bic.moe.go.th/th/images/stories/IATSS_Forum.pdf




ที่มา :  http://www.moe.go.th