29 ธันวาคม 2554

๒๕๕๕ ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๓๔๘/๒๕๕๔

ศธ.ได้กำหนดให้วันจันทร์เป็นวันภาษาอังกฤษของ ศธ.ที่จะได้ใช้ภาษาอังกฤษในการทักทาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงความถูกผิด แต่ขอความร่วมมือให้ช่วยกันพูด ที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะต้องการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกว่าการพูดภาษาอังกฤษเป็นเรื่องธรรมดา จากนั้นอาจจะมีการขยายเวลาของการพูด จาก ๑ วันต่อสัปดาห์ เป็น ๒ วัน หรืออาจจะเพิ่มชั่วโมงขึ้นเรื่อยๆ

 
การกำหนดให้วันจันทร์เป็นวันภาษาอังกฤษในโรงเรียน เป็นการพูดทักทาย เพื่อทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพื่อฝึกฝนให้เกิดความคุ้นเคย และเพื่อติดต่อสื่อสารในสังคมอาเซียนและประชาคมโลก โดย ศธ.จะให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดมุมภาษาอังกฤษ การประกวดพูดภาษาอังกฤษ การจัดค่ายภาษาอังกฤษ การจัดทำสื่อและเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เป็นต้น โดยจะจัดให้มีกิจกรรมทั้งภายในโรงเรียน การประกวดแข่งขันระหว่างโรงเรียน ระหว่างภาค และในระดับประเทศต่อไป 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่   http://www.moe.go.th/websm/2011/dec/348.html

09 ธันวาคม 2554

งานปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิและงานกาชาด : EEL FAIR 2011

งานปลาไหล ข้าวใหม่หอมมะลิและงานกาชาด  :  EEL FAIR 2011
อำเภอชุมพลบุรี  จังหวัดสุรินทร์  จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 ธันวาคม
2554  ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอชุมพลบุรี


ขอเรียนเชิญทุกท่านชมขบวนแห่ที่อลังการ์ เป็นความสามัคคีของชุมชน
ภายในแต่ละอบต.  และเทศบาล   ในเสาร์ที่ 17 ธันวาคม
ชมและเชียร์การจับปลาไหลทีมชาย-หญิง  และทีมนานาชาติได้ในวันที่
18  ธันวาคม 2554







14 พฤศจิกายน 2554

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

อาเซียน : ASEAN





กำเนิดอาเซียน 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง  5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม  มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ  รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)  นายเอส  ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ     สิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538)  ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
  1.
สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
  2.
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน  มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

แหล่งที่มา :

12 พฤศจิกายน 2554

สรุปเกณฑ์วิทยฐานะ"ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ" ดึงผู้ปกครอง-ชุมชนนั่งเป็นกรรมการประเมิน สกัดพวกจ้างเขียนผลงานขอตำแหน่ง

มติชน กรอบบ่าย ฉบับวันที่ 11 พ.ย. 2554 รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เปิดเผยผลการประชุมอ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ เมื่อเร็วๆ นี้

..........................
..........................


"สาเหตุที่ตั้ง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดนี้ เนื่องจากมักมีเรื่องร้องเรียนว่าข้าราชการครูฯที่ทำงานดีสอนดี หรือผู้อำนวยการสถานศึกษาที่บริหารดี มักจะไม่ได้เลื่อนวิทยฐานะ แต่ข้าราชการครูฯที่ได้เลื่อนวิทยฐานะมักจะไปจ้างคนอื่นเขียนผลงานให้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงต้องพยายามหาวิธีการที่จะเลื่อนวิทยฐานะต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นช่องทางพิเศษหนึ่ง เช่นเดียวกับวิทยฐานะเชิงประจักษ์สำหรับผู้มีผลงานดีเด่นที่ได้ประกาศใช้แล้ว ส่วนการประเมินวิทยฐานะตามช่องทางปกติก็ยังมีอยู่เช่นเดิม

รายละเอียดและวิธีประเมิน เชิญอ่านเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างนี้

http://www.kroobannok.com/46581

31 ตุลาคม 2554

พัฒนาครูด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้โปรแกรมThinkQuestเพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนโรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ สพม.เขต 33


นายพีระศักดิ์  น่วมจะโป๊ะ  ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ สพม.เขต33สุรินทร์
ประธานพิธีเปิดอบรมโปรแกรมThinkQuestเมื่อวันที่ 28ตุลาคม2554




นายวีรัตน์  ลอยทะเล  รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการรายประธานพิธีเปิดอบรม
ครูปฏิพล  กำลังลงทะเบียน  โดยมีครูวนิดา  และครูแป้ง คอยต้อนรับคณะครู


ครูอำไพ  ธนะมูล พิธีกร


รองฯวีรัตน์   ผู้อำนวยการพีระศักดิ์  และรองฯสงวนพงษ์  นั่งอยู่กับเราตลอดเวลา คอยให้กำลังใจ

ครูเยาวภา   ลอยทะเล  วิทยากรแกนนำกำลังแนะนำวิทยากร แนะนำโปรแกรม ThinkQuest
ส่วนอาเซียนนั้นท่านผู้อำนวยการพีระศักดิ์   น่วมจะโป๊ะได้พูดให้ฟังหลายครั้งแล้วก็เลยเพียง
แต่แนะนำเวบที่ให้เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียดเท่านั้น  

ครูอำไพ  ธนะมูล พิธีกร

รองฯวีรัตน์   ผู้อำนวยการพีระศักดิ์  และรองฯสงวนพงษ์  นั่งอยู่กับเราตลอดเวลา คอยให้กำลังใจ



ครูธนพร  ณุวงศ์ศรี  วิทยากรแกนนำ

พิธีเปิดเสร็จเราก็ถ่ายภาพร่วมกัน  นี่เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ค่ะ

ผู้บริหารโรงเรียนถ่ายภาพร่วมกับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย


กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา
ครูอำไพ   ครูรำไพ   ครูพจนพร  จองแถวหน้า
ครูทิวากร   ครูจิรศักดิ์  และครูนครินทร์  หนุ่มโสดฝันหวาน ก็พร้อมที่จะอบรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
วิทยากรสงสัยสัยเอ๊ะทำไมครูเก่งจัง  เดี๋ยวเดียวรู้หมดเลย  จะเอาอะไรมาเพื่มให้ดี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ


27 ตุลาคม 2554

กิจกรรมโรงเรียน บรรยากาศ ภูมิอากาศ น้ำ ชุมพลบุรีในเดือนตุลาคม2554 : October pictures


วันที่ 1 ตุลาคม 2554 มองเมฆบนฟ้า หลายคนคงกลัว
จะมี UFO หลังม่านเมฆหรือเปล่าหนอ


โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ ประตูตะวันตกกับเมฆก้อนเดียวกัน


รองผอ.วีรัตน์  ลอยทะเล กับชุดผู้พันรด.ซึ่งจัดเตรียมให้
โดยผู้พันธงศักดิ์  ภาโส (ไม่ทันช่วงฝึกรด.ที่โรงเรียน)


เตรียมตัวไปร่วมพิธีสวนสนามรด.ที่โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน


น้องไออุ่น อายุ 2 เดือน กับคุณยาย


เจ้าเมืองยโสธร


ผอ.พีระศักดิ์  น่วมจะโป๊ะ  และรองผอ.วีรัตน์ ลอยทะเล
กำลังติดอินทนูประดับยศให้กับครูใหม่ ครูทิวากร ธนมูล
และครูนาฏศิลป์คนใหม่






ครูเยาวภา  ลอยทะเล และครูนครินทร์ จินดากุล  ร่วมเป็นกรรมการ
การนำเสนอผลงานของครูภาษาอังกฤษ สพม.เขต 33 สุรินทร์
ระหว่างวันที่ 11-12 ตุลาคม 2554  วันที่สองของงานคุณครูเยาวภา
ลอยทะเล นำเสนอผลงาน Best Practice


ปิดเทอมรองฯวีรัตน์  ทำกิจกรรมที่สวนหลังบ้าน


ทุ่งกุลาร้องไหนที่เคยแห่งแล้ง มีน้ำเจิ่งนองอยู่ทั่วไป


ท้องฟ้าเป็นแบบนี้ตลอดเลย ช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม


ฝนตกอีกแล้ว


รองฯวีรัตน์  ไปสังเกตระดับน้ำท้ายเมืองชุมพลบุรี

25 ตุลาคม 2554

พุทธวิธีคิด โยนิโสมนสิการ Yonisomanasikan

เมื่อวานมีโอกาสสืบค้นวิธีคิดแบบ Metacognition
และพุทธวิธีคิด โยนิโสมนสิการ

ทั้งสองแบบเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีคิดของคนเรา
ผู้คิดผู้ถ่ายทอดก็ช่างเก่งจริงๆ  อ่านแล้วก็อัศจรรย์ใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธวิธีคิดโยนิโสมนสิการ ที่บรรยายไว้
โดยท่าน พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต)
สรุปย่อโดย สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์  
--------------------------- ----
ขออนุญาตนำบางส่วนมาให้ท่านที่สนใจอ่านดูค่ะ 
วิธีคิดแบบ "พุทธวิธีคิด" โยนิโสมนสิการ


วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ (การทำในใจให้แยบคาย)
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ มี 2 แบบคือ

  • แบบมุ่งเน้นสกัด หรือกำจัดอวิชชาโดยตรง 
  • แบบมุ่งสกัดบรรเทาตัณหา                                                                                                                                                   มีวิธีคิดที่พบ 10 แบบ ดังนี้
1) คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
2) คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
3) คิดแบบสามัญลักษณ์
4) คิดแบบอริยสัจ (คิดแก้ปัญหา)
5) คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์
6) คิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก
7) คิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม
8) คิดแบบเร้าคุณธรรม
9) คิดแบบอยู่กับปัจจุบัน
10) คิดแบบวิภัชชวาท



แต่ละแบบมีรายละเอียดอย่างไร  เชิญอ่านได้ที่เวบ
ด้านล่างนี้ค่ะ
http://www.budmgt.com/budman/bm02/yonisomanasikan.html

21 ตุลาคม 2554

สถานทูตอเมริกันประจำประเทศไทยกับฟุลไบรท์ไทยมีทุนให้นักศึกษาไทย : 2012 Global Undergraduate Exchange Program


2012 Global Undergraduate Exchange Program  
 
สถานทูตอเมริกันประจำประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน(ฟุลไบรท์เปิดรับสมัครแข่งขันทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนสำหรับมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เพื่อให้โอกาสนักศึกษาไทยที่เรียนดีและมีภาวะความเป็นผู้นำที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ได้เรียนร่วมกับนักศึกษาและอภิปรายกับคณาจารย์ชาวอเมริกัน เพื่อเพิ่มพูนภาวะผู้นำและเรียนรู้ชีวิต สังคม วัฒนธรรมและสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้

Global Undergraduate Exchange Program
(ทุนนักศึกษาแลกเปลี่ยนสำหรับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคที่กำหนด)

ประเภทที่ 1 ทุนสำหรับ 1 ภาคการศึกษา (ระยะเวลา 5 เดือน โดยเริ่มเรียนในเทอม Fall 2012)
ประเภทที่ 2 ทุนสำหรับ 1 ปีการศึกษา     (ระยะเวลา 10 เดือนโดยเริ่มเรียนในเทอม Fall 2012)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

More details on the web below ja.

http://www.fulbrightthai.org/knowledge/read.asp?id=600&type=application