30 พฤศจิกายน 2554
29 พฤศจิกายน 2554
27 พฤศจิกายน 2554
25 พฤศจิกายน 2554
20 พฤศจิกายน 2554
17 พฤศจิกายน 2554
14 พฤศจิกายน 2554
อาเซียน : ASEAN
กำเนิดอาเซียน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ สิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ สิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
แหล่งที่มา :
13 พฤศจิกายน 2554
12 พฤศจิกายน 2554
สรุปเกณฑ์วิทยฐานะ"ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ" ดึงผู้ปกครอง-ชุมชนนั่งเป็นกรรมการประเมิน สกัดพวกจ้างเขียนผลงานขอตำแหน่ง
มติชน กรอบบ่าย ฉบับวันที่ 11 พ.ย. 2554 รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เปิดเผยผลการประชุมอ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ เมื่อเร็วๆ นี้
..........................
..........................
"สาเหตุที่ตั้ง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดนี้ เนื่องจากมักมีเรื่องร้องเรียนว่าข้าราชการครูฯที่ทำงานดีสอนดี หรือผู้อำนวยการสถานศึกษาที่บริหารดี มักจะไม่ได้เลื่อนวิทยฐานะ แต่ข้าราชการครูฯที่ได้เลื่อนวิทยฐานะมักจะไปจ้างคนอื่นเขียนผลงานให้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงต้องพยายามหาวิธีการที่จะเลื่อนวิทยฐานะต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นช่องทางพิเศษหนึ่ง เช่นเดียวกับวิทยฐานะเชิงประจักษ์สำหรับผู้มีผลงานดีเด่นที่ได้ประกาศใช้แล้ว ส่วนการประเมินวิทยฐานะตามช่องทางปกติก็ยังมีอยู่เช่นเดิม
รายละเอียดและวิธีประเมิน เชิญอ่านเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างนี้
http://www.kroobannok.com/46581
..........................
..........................
"สาเหตุที่ตั้ง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดนี้ เนื่องจากมักมีเรื่องร้องเรียนว่าข้าราชการครูฯที่ทำงานดีสอนดี หรือผู้อำนวยการสถานศึกษาที่บริหารดี มักจะไม่ได้เลื่อนวิทยฐานะ แต่ข้าราชการครูฯที่ได้เลื่อนวิทยฐานะมักจะไปจ้างคนอื่นเขียนผลงานให้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงต้องพยายามหาวิธีการที่จะเลื่อนวิทยฐานะต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นช่องทางพิเศษหนึ่ง เช่นเดียวกับวิทยฐานะเชิงประจักษ์สำหรับผู้มีผลงานดีเด่นที่ได้ประกาศใช้แล้ว ส่วนการประเมินวิทยฐานะตามช่องทางปกติก็ยังมีอยู่เช่นเดิม
รายละเอียดและวิธีประเมิน เชิญอ่านเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างนี้
http://www.kroobannok.com/46581
10 พฤศจิกายน 2554
05 พฤศจิกายน 2554
02 พฤศจิกายน 2554
01 พฤศจิกายน 2554
โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ : กลุ่มบริหารวิชาการ สพม.เขต 33: พัฒนาครูด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้โปรแกรมThinkQu...
โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ : กลุ่มบริหารวิชาการ สพม.เขต 33: พัฒนาครูด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้โปรแกรมThinkQu...: นายพีระศักดิ์ น่วมจะโป๊ะ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ สพม.เขต33สุรินทร์ ประธานพิธีเปิดอบรมโปรแกรมThinkQuestเมื่อวันที่ 28ตุลาคม...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)