14 พฤศจิกายน 2554

พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน

อาเซียน : ASEAN





กำเนิดอาเซียน 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง  5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม  มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ  รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)  นายเอส  ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ     สิงค์โปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538)  ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
  1.
สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
  2.
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน  มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

แหล่งที่มา :

12 พฤศจิกายน 2554

สรุปเกณฑ์วิทยฐานะ"ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ" ดึงผู้ปกครอง-ชุมชนนั่งเป็นกรรมการประเมิน สกัดพวกจ้างเขียนผลงานขอตำแหน่ง

มติชน กรอบบ่าย ฉบับวันที่ 11 พ.ย. 2554 รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน นายสุขุม เฉลยทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เปิดเผยผลการประชุมอ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ เมื่อเร็วๆ นี้

..........................
..........................


"สาเหตุที่ตั้ง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯชุดนี้ เนื่องจากมักมีเรื่องร้องเรียนว่าข้าราชการครูฯที่ทำงานดีสอนดี หรือผู้อำนวยการสถานศึกษาที่บริหารดี มักจะไม่ได้เลื่อนวิทยฐานะ แต่ข้าราชการครูฯที่ได้เลื่อนวิทยฐานะมักจะไปจ้างคนอื่นเขียนผลงานให้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงต้องพยายามหาวิธีการที่จะเลื่อนวิทยฐานะต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นช่องทางพิเศษหนึ่ง เช่นเดียวกับวิทยฐานะเชิงประจักษ์สำหรับผู้มีผลงานดีเด่นที่ได้ประกาศใช้แล้ว ส่วนการประเมินวิทยฐานะตามช่องทางปกติก็ยังมีอยู่เช่นเดิม

รายละเอียดและวิธีประเมิน เชิญอ่านเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างนี้

http://www.kroobannok.com/46581