15 กุมภาพันธ์ 2553

โรงเรียนในฝัน หรือ โรงเรียนดีใกล้บ้าน : รักษาต้นแบบนั้นยากกว่า

วันนี้ได้เข้าไปศึกษาblog ของท่านชัดเจน  ไทยแท้  
ได้พบบทความ   เอกสาร  ข้อคิดต่าง ๆ  ที่น่าสนใจมากมาย
อยากเอามาให้คณะครู ของเรา และผู้สนใจ
ได้ศึกษาดู  ท่านทันสมัยด้านไอดี   มีไอเดียดีๆ 
เล่าให้ผู้สนใจเกี่ยวข้องได้อ่านกันแบบเพลินๆ
แถมได้ความรู้อีกด้วย  ช่วงนี้  Roving Team
กำลังจะมาพบปะและดูความคงสภาพของโรงเรียนในฝัน
ต้นแบบ ทุกรุ่น  กันอยู่ในขณะนี้  โดยขอตัดบางข้อความ
บางภาพออกไปบ้างเพื่อให้คนโรงเรียนในฝันได้อ่านกันทั่วไป 
**********************************************
"
............ถ้าพอมีเวลาก็จะไปเยี่ยมเยียนทักทายต้นแบบฯ
ทั้งรุ่น 1 รุ่น 2 ซึ่งพบว่าท่านทั้งหลายมีความพยายามสูง
ในการรักษาความเป็นต้นแบบฯและพัฒนาต่อยอด
หลายโรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน หลายโรงเรียน
มีผู้มาศึกษาดูงานเยอะ เรียกว่างานเข้าทีเดียว ถามว่า
เหนื่อยมั๊ย ตอบแทนเลยว่าเหนื่อยแต่ก็ดูท่านมีความสุข
(คงไม่ทั้งหมด) สำหรับบันทึกหน้านี้อยากจะขอเสนอ
แนวคิดบางประการในการรักษาความเป็นต้นแบบ


1.ทุกรุ่นที่เหมือนกันคือด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหาร
ทุ่มเทรวมถึงได้แรงใจจากชุมชน คณะครู แต่ละโรงเรียน
จึงต่อยอดอย่างต่อเนื่องตามศักยภาพน่าชื่นใจ ไม่ว่า
จะเป็นสื่อ แหล่งเรียนรู้ เอาเป็นว่าที่เสนอไว้ตอนหลัง
ประกาศรับรองไม่ได้ครึ่งกับที่ท่านทำ ในฐานะที่เป็น
คนหนึ่งที่ร่วมบริหารจัดการโครงการ ขอเรียนว่า
"ดีใจที่มีท่านทั้งหลายร่วมโครงการโรงเรียนในฝัน"

2.สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้คงเป็นข้อคิด ข้อสังเกตุ
ข้อพึงระวังมากกว่าเป็นต้นว่า


2.1 การภูมิใจในความสำเร็จเป็นเรื่องที่ทุกคนพึงมี
แต่อย่าหลงอยู่กับมันจนพัฒนาต่อไม่ได้

2.2 ขอให้กลับไปศึกษาเอกสาร คู่มือ เครื่องมือว่า
ท่านมีจุดอ่อนเรื่องอะไรถ้าไม่ศึกษา อาจจะ
ดูเหมือนไม่ได้ติดตามความก้าวหน้า

2.3 รุ่นที่1หลายท่านไม่ทราบว่ามีคู่มือ
(คู่มือประเมินรุ่น 2 พัฒนามาจากรุ่นที่1)เลยทำให้
ไม่ทราบแนวทางพัฒนา ประกอบกับไม่มีแรงกดดัน
(ประเมินผ่านแล้ว)อาจทำให้ละเลยไป

2.4 ICT และแหล่งเรียนรู้ พัฒนาไปมาก
แต่วิธีการจัดการเรียนการสอนอาจไม่เท่าทันสิ่งที่พัฒนา
ครูหลายท่านไม่ได้ศึกษาความก้าวหน้าการใช้โปรแกรมต่างๆ
การสอนสืบค้นข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูล อาจถูกละเลย

2.5 ณ วันนี้อยากให้ครูทุกคนทบทวนความสามารถ
ด้าน ICT ทบทวนการเรียนรู้ผ่านโครงงาน ทบทวนการสอน
ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การนำข้อมูลมาเชื่อมโยง
เป็นผลงานเป็นคำตอบ ลองดูบัตรงานซิคะ ท่านเปลี่ยนไป
หรือยัง ทบทวนโครงการรักการอ่านบ้างหรือเปล่า
ทบทวน"สนามบูรณาการ"บ้างหรือไม่ เช่นวันนี้
minicompanyเป็นอย่างไร สหกรณ์โรงเรียนเป็นสหกรณ์
ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกหัดหรือไม่ จุดอ่อนที่ประเมิน
ครั้งแรก (วันประเมิน)และวันนี้คาดว่ายังเป็นจุดอ่อนอยู่
เพราะโรงเรียนที่ไปดูงานก็สะท้อนมาว่าไม่ชัด

2.4 เมื่อมีการดูงาน น่าจะสอนให้ดู เพื่อจะรู้ว่าแหล่งเรียนรู้
สื่อ ต่างๆสอนอย่างแทนคำอธิบาย

2.5 ครูหรือบุคลากรที่ย้ายเข้ามาใหม่จำเป็นอย่างยิ่ง
ที่ต้องให้ทำความเข้าใจกับ Consept โรงเรียนในฝัน
แล้วดำเนินการพัฒนาการเรียนการสอน คู่มือ"

แหล่งที่มา   http://gotoknow.org/blog/chadjane10/315431

12 กุมภาพันธ์ 2553

คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง)

ช่วงนี้คุณครูหลาย ๆ ท่านคงจะตื่นตัว  ตื่นเต้น  พร้อมที่จะศึกษา
หาความรู้เพื่อรับการประเมินสมรรถนะกันแล้ว

วิชาการโรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์จึงขอแนะนำเวบไซต์
เพื่อให้คุณครูได้ไปอ่านเพื่อเตรียมตัวกัน ด้านล่างนี้ครับ

http://www.moc.moe.go.th/node/1112    12/02/2010

พอเปิดเข้าไปแล้ว  ก็ click ขวาที่  attachment
จะโหลดเร็วหรือช้า หรือจะโหลดสำเร็จหรือเปล่า
คงขึ้นอยู่กับความเร็วอินเทอร์เน็ตแล้วล่ะครับ

09 กุมภาพันธ์ 2553

การประเมินทดสอบสมรรถนะครู

"ชินภัทร"เผยเกณฑ์ประเมินสมรรถนะครู
เล็งหยิบผลรายบุคคลเข้าระบบขยับวิทยฐานะ


ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(กพฐ.) เปิดเผยว่า จากที่ตนได้หารือกับผู้อำนวยการสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการยกระดับ
คุณภาพครูทั้งระบบ โดยในการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ
จะเริ่มจากการประเมินสมรรถนะ ครูเป็นรายบุคคล เพื่อจัดทำเป็น
ฐานข้อมูลครูรายบุคคลตามระดับสมรรถนะ ซึ่งในการประเมิน
สมรรถนะครูและบุคลา กรทางการศึกษา จะแบ่งเป็น 2 ส่วน
ดังนี้
ส่วนแรก เป็นสมรรถนะเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่ครูสอน
ส่วนที่สองแยกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ  สมรรถนะหลัก ซึ่งเป็นสมรรถนะ
ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจะต้องรู้ในการดำเนินการ
ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ส่วนที่ 2 สมรรถนะประจำสายงาน ที่เน้นการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนต่างๆ ซึ่งในการประเมินสมรรถนะนั้นสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะดำเนินการบางส่วน
และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการบางส่วน เช่น สถาบัน
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จะประเมิน
สมรรถนะด้านการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ สพฐ.จะดำเนินการประเมินสมรรถนะครูและบุคลากร
ทางการศึกษาในช่วงเดือนมี.ค.นี้

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า ในการประเมินสมรรถนะครูและบุคลากร
ทางการศึกษาเป็นรายบุคคลครั้งนี้ ไม่มีผลต่อการเลื่อนวิทยฐานะ
แต่จะนำผลมาใช้เพื่อพัฒนาเท่านั้น

แต่ในอนาคต สพฐ.จะพยายามให้การประเมินสมรรถนะครูส่งผล
ต่อการประเมินวิทยฐานะด้วย เพราะครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญ
หรือรอบรู้ในวิชาที่สอน ซึ่งในหลักเกณฑ์วิธีให้ข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตาม ว 17
ที่ได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2552 ได้เปิดช่องทางไว้ว่า
การประเมินด้านความรู้ ความสามารถของครู จะพิจารณาผลของ
การประเมินสมรรถนะหรือการอบรมในหลักสูตรที่คณะกรรมการ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ให้การรับรองด้วย

ดังนั้น เมื่อระบบการประเมินสมรรถนะครูเดินหน้ามากขึ้นก็จะมีหลักสูตร
ที่ ก.ค.ศ.รับรอง และหากครูคนใดผ่านการอบรมก็จะถือเป็นเครดิต
ประกอบการเลื่อนวิทยฐานะ หรือผ่านการประเมินสมรรถนะจากสถาบัน
ที่ ก.ค.ศ.รับรอง เป็นเครื่องยืนยันความรู้ความสามารถ และให้คณะกรรมการ
ที่ประเมินวิทยฐานะมีหลักการประกอบการพิจารณาที่ชัดเจนขึ้น

ที่มา :  http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEE1TURJMU13PT0=§ionid
=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB3T1E9PQ==

08 กุมภาพันธ์ 2553

ประเมินสมรรถนะครูวิทย์/คณิตฯ

ด่วน..ประเมินสมรรถนะครูวิทย์/คณิตฯ



เรียนท่านผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนมัธยมศึกษา
ที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3 สุรินทร์ เขต 2


ขอความร่วมมือให้ท่านแจ้งรายชื่อครูที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์
2553 ให้จงได้  (ส่งที่กลุ่มบริหารงานบุคคล)


เนื่องจาก สพฐ.จะดำเนินการประเมินสมรรถนะครูในวันที่
13 กุมภาพันธ์ 2553




แหล่งที่มา http://www.surinarea2.com/