14 มีนาคม 2554

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการอ้างอิง

การอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรมเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาหรือผู้วิจัย
ควรต้องตระหนักและศึกษาให้ละเอียดเพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าของผลงาน  และเพื่อให้ผู้ศึกษาดูน่าเชื่อถือ
ซึ่งมีเอกสารให้ศึกษามากมายบนโลกไซเบอร์  และในตำรา

การอ้างอิงจากแหล่งรอง (Secondary Source) นั้น ให้ระบุแหล่งรอง
แล้วตามด้วย "อ้างอิงจาก..." หรือ "citing"
แต่ถ้าระบุแหล่งเบื้องต้นใช้คำว่า "อ้างอิงใน"

เช่น

...จากผลสำรวจของหน่วยสันติภาพอเมริกาประจำประเทศไทย
(EFL Conference Research Manual 1991 : 3, อ้างถึงใน เยาวภา
ลอยทะเล  2544 :  3) ที่สำรวจจากอาสาสมัครหน่วยสันติภาพอเมริกา
ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ พบว่า
ทักษะการพูดเป็นทักษะที่อ่อนที่สุดของนักเรียนไทย  โดยมีสาเหตุ
มาจากห้องเรียนที่ใหญ่ และจำนวนนักเรียนมาก ทำให้โอกาสในการ
ฝึกพูดมีไม่ทั่วถึง ครูไม่พูดภาษาอังกฤษในชั้นเรียน อีกทั้งวัฒนธรรมไทย
บางประการมีข้อจำกัดให้ผู้เรียนไม่กล้าแสดงออกอย่างอิสระ

และ มีชื่อในบรรณานุกรม   ดังนี้

เยาวภา  ลอยทะเล.  "การใช้รูปแบบการสอนที่เน้นการสร้างสถานการณ์จำลอง
---------ในกลุ่มย่ิอยเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน."
---------วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ
---------บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2544.



ที่มา
geo.buu.ac.th/attachment/article/63/A4.doc
รัตนา  วงศ์ยะรา.  "การพัฒนาชุดฝึกการอ่านและการพูดภาษาอังกฤษ
-----เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม
-----ศึกษาปีที่ 3." วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา
-----หลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2548.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น