24 มิถุนายน 2555

เชิญอ่านบทความด้านวัฒนธรรมของท่านกงสุลใหญ่ นครเฉิงตู


เมื่อบ๊ะจ่างมีไส้ทุเรียน เมื่อโชว์เปี้ยนเหลี่ยนเปลี่ยนเป็นหน้าหนุมาน
แนวทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน ในยุคที่จีนเรืองอำนาจ

เศรษฐพันธ์ กระจ่างวงษ์
สถานกงสุลใหญ่ นครเฉิงตู

ตอนนี้ ก็ย่างใกล้ช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ซึ่งในปี 2555 นี้ ตรงกับวันที่ 23 มิถุนายน
2555 ขนมข้าวเหนียวปั้นรูปทรงคล้ายปิระมิด ที่คนจีนเขาเรียกว่า จ้งจื่อ (Zong Zi: 粽子) ก็เริ่มมี
ขายเกลื่อนกลาดในตลาดและซุปเปอร์มาเก็ตของนครเฉิงตู ในลักษณะของกล่องบรรจุที่หลากหลาย
สีสันสวยงาม ราคาหลากรูปแบบจากถูกๆ ไปจนแพงแบบ shock price ทำให้มีคำถามว่า คนจีน
เดี๋ยวนี้เขาหันกลับมาไหว้บ๊ะจ่างแบบคนไทยเชื้อสายจีนที่เมืองไทยของเราแล้วหรือ แต่แล้วจากการ
สอบปากคำคนจีนใกล้ตัวทั้งหลาย ส่วนใหญ่ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ขนมดังกล่าวก็มีไว้กินเปลี่ยน
รสชาติในบรรยากาศงานประเพณีเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนก็ทราบที่มาที่ไปของขนมนี้ว่า
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างหรือตวนอู่ (Duan Wu : 端午) มีขึ้นเพื่อระลึกถึงวันที่ ชูวหยวน (Qu Yuan:
.. 203-265) กวีผู้รักชาติและจงรักภักดีแห่งรัฐฉู่กระโดดน้ำเสียชีวิต และประชาชนที่เคารพรัก
เขาก็โยนขนมนี้ลงในแม่น้ำเพื่อให้เขากิน หรือบ้างก็เล่าว่าโยนเพื่อไปให้ปลากินจะได้ไม่มากินร่างเขา
บ้างที่รู้จริงอีกระดับ ก็อธิบายยาวเลยว่า จะโยนให้เขากิน แต่ปลามากินหมด วิญญาณเขาก็เลยเข้ามา
เข้าฝันว่าให้เอาใบไผ่ห่อเป็นก้อนก่อน ปลาจะได้ไม่มากิน แต่ความที่ปลาแม่น้ำแยงซีเกียงมีมากและคง
อดอยากก็เลยยังตอดกินได้ เขาเลยบอกว่า หากจะให้ปลากลัวไม่กล้ากิน ก็ทำเรือเป็นรูปมังกรลอยลง
ไปด้วย ปลาจะได้นึกว่าเป็นของมังกร และไม่มาแย่งกินในที่สุด ช่วงงานนี้ ก็เลยมีเทศกาลแข่งเรือมังกร
(Long Zhou:龙舟) ควบคู่ไปด้วย
อันที่จริงแล้ว ความเป็นไปของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างในสาธารณรัฐประชาชนจีนใน
ปัจจุบันนั้น มีอะไรน่าสนใจไปกว่าการกินขนมบ๊ะจ่างมากมายนัก นับย้อนไปหลังปฏิวัติคอมมิวนิสต์
มาตั้งแต่ ปี 2492 ที่จีนได้แปรสภาพเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงนั้นความสำเร็จครั้ง ยิ่งใหญ่
สำหรับรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของประธานเหมา ได้นำประชาชนทั้งประเทศเข้าสู่ยุค
อุดมคติที่ว่าทุกคนมีความเสมอภาคกัน ร่วมแรงใจกันพัฒนา ในช่วงนั้น ไม่มีใครจะสนใจเรื่อง
ศิลปวัฒนธรรม เท่ากับปากท้อง และการดำรงชีพให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ใหม่ที่ต้องมีคำอธิบายทุก
อย่างด้วยศาสตร์ปัจจุบัน สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัดวาอาราม โบราณสถาน ถูดทอดทิ้ง
เช่นเดียวกับ งานศิลปแขนงต่างๆ มรดกทางวัฒนธรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ไปจนถึง คหกรรมศิลป์__
ทำบ๊ะจ่าง ล้วนถูกบั่นทอน ริดรอน และสอนให้ลืมความหมายและความเชื่อที่เคยหยั่งรากลึกมาช้า
นาน มิหนำซ้ำ ยังถูกกระหน่ำล้างบางอีกครั้งอย่างรุนแรงในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม ปี 2509-
2519 ซึ่งพวกกองทัพพิทักษ์แดง (Red Guard) ได้กระทำการส่งท้ายก่อนท่านประธานเหมาจะอำลา
โลกไป จนคนรุ่นถัดมาส่วนใหญ่ ถูกตัดโอกาสที่จะได้รับการถ่ายทอดความเชื่อและศิลปวัฒนธรรม
คลาสสิกที่สืบทอดมายาวนานของจีน
วัฒนธรรมเป็นสิ่งมีคุณค่าและสวยงามเป็นสัจธรรมที่อยู่คู่มวลมนุษย์เสมอ ไม่กี่ปี
หลังการจากไปของประธานเหมา พร้อมกับการปฏิรูปประเทศโดยนโยบาย สี่ทันสมัยที่ริเริ่มและ
ดำเนินการโดยรัฐบุรุษ โจวเอินไหล และเติ้งเสี่ยวผิง ตามลำดับ จีนได้เริ่มฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไปพร้อม
กับการพัฒนาเศรษฐกิจ มีแม้กระทั่งการเปิดรับศิลปวัฒนธรรมจากตะวันตก จากการต้อนรับไอแซก
สเติร์น (Isaac Stern) นักไวโอลินระดับโลก ครูสอนดนตรีที่ได้รับเชิญให้เดินทางท่องเที่ยวไปตาม
สถานที่ต่างๆ ในประเทศจีน เพื่อ "แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม" ในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2522 เป็นเวลา
สามสัปดาห์ที่การเดินทางนำมาถูกมาเรียบเรียงเป็นภาพยนตร์เชิงสารคดี “From Mao to Mozart:
Isaac Stern in Chinaซึ่งสเติร์นได้มีการกล่าวถึงความงุนงงไม่เข้าใจในช่วงแรกต่อการเรียนรู้ศิลป
ดนตรีของเยาวชนที่ถูกเลี้ยงให้เติบโตขึ้นในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมอันเป็นยามที่ศิลปะทุกแขนงถูกมอง
เป็นสิ่งไม่ดี เด็กจำนวนหนึ่งได้ถูกคัดเลือกมาเข้าคอร์สเรียนดนตรีสากล ในเวลาต่อมาสเติร์นได้
สนับสนุนให้เด็กหลายคนได้รับการศึกษาในต่างประเทศ และกลายเป็นนักดนตรีคลาสสิกระดับโลก
เช่น หวัง เจี้ยน (Jian Wang) ฉู่ เหว่ยหลิง (Vera Tsu) และชุน ผาน (Pan Chun)
หลังก้าวเข้าสู่ต้นทศวรรษ 2540 หรือเริ่มคริสตศตวรรษใหม่ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ของจีนที่ไม่หยุดยั้งทำให้โอกาสและชีวิตคนจีนสดใสมากขึ้น งานหนึ่งที่รัฐบาลจีนต้องหันมาผลักดัน
เต็มที่นอกจากการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นแล้ว ก็คือ การฟื้นฟู
ศิลปวัฒนธรรม และนำพาประชาชนให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมตนเองที่นับย้อนไปได้หลายพันปี
รวมทั้งมีการเปิดรับวัฒนธรรมและศิลปสากลเข้ามาผสมผสาน ความคิดเร็ว พูดเร็ว ทำเร็ว และเงินถึง
ของจีน ทำให้เพียงไม่กี่ปี การฟื้นฟูวัฒนธรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว โบราณสถานจำนวนมาก ที่หลาย
แห่งเคยถูกทุบตีทำลาย ได้รับบูรณะอย่างเป็นระบบ พร้อมกับความอลังการใหญ่โตของซุ้มประตูและ
อัตราค่าบัตรเข้าดูที่ต้องกัดฟันจ่าย การฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural
Heritage) อาทิ นาฏศิลป์ ดนตรี ก็ได้รับการฟื้นฟูโดยผ่านกระบวนการพัฒนาสถาบันและบุคลากร
อย่างเป็นระบบ ผนวกกับการเสริมมูลค่าเพิ่มด้วยเทคนิคทางการค้าและการท่องเที่ยว ทำให้สินค้า
และเทศกาลทางวัฒนธรรมช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ดังกรณีของ เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างตวนอู่
ซึ่งรัฐบาลจีนเพิ่งประกาศให้กลับมาเป็นวันหยุดราชการเมื่อปี 2551 ขนมบ๊ะจ่างสารพัดชนิดกลาง
ซุปเปอร์มาร์เก็ต จึงเป็นอีกหนึ่งในโครงการฟื้นฟูและสืบสานวัฒนธรรมของรัฐบาลจีน ที่ครั้งหนึ่งเคยถูก
มองว่าเป็นเรื่องงมงาย ไร้สาระ และขัดต่อการพัฒนา แม้ว่าความหมายและความเชื่อในตัวสื่อคุณงาม
ความดีจากขนมยังไม่ดื่มด่ำลงไปในความรู้สึกและจิตวิญญาณของคนจีนรุ่นใหม่เท่าที่ควรก็ตาม
ปัจจุบัน จึงถือได้ว่า รัฐบาลจีนก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการปลุกชีวิตมรดก
ทางศิลปวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการมายาวนานของตนให้กลับคืนมาในรูปแบบต่างๆ และกำลังจะแผ่
ขยายอิทธิพลของวัฒนธรรมออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และกระจายไปทั่วโลก ด้วยงบประมาณที่มีอยู่
อย่างมหาศาล เป็นเรื่องที่ไม่ยาก ที่รัฐบาลจีนจะผลักดันการส่งออกวัฒนธรรมไปยังประเทศอื่น ดังที่
กระทรวงวัฒนธรรมจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์ของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศไว้ว่า
เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเทศ โดยการนำเอาทรัพยากรด้านวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด ผ่านการแลกเปลี่ยน การเจรจาสื่อสาร ตลอดจน การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม
เพื่อให้อีกประเทศเกิดความเข้าใจและสร้างการยอมรับ ซึ่งกันและกันทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมจีน
ได้มียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันและส่งเสริมวัฒนธรรมไปยังต่างประเทศอยู่ 3 ประการ ได้แก่
(1) การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน
ภาษาจีนเป็นภาษาที่มีคุณลักษณะพิเศษ กล่าวคือเป็นภาษาที่ใช้อักษรภาพ (ไม่มี
ตัวสะกด) และเป็น 1 ใน 6 ภาษาของสหประชาชาติ(แม้ว่าจะมีเพียงรัฐสมาชิกเดียวที่ใช้ภาษานี้ล้วนๆ)
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา คณะทูตถาวรของจีนประจำนครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้
ร่วมกับสำนักงานสหประชาชาติประจำนครเจนีวาจัดกิจกรรม "วันภาษาจีนแห่งสหประชาชาติ" ที่
อาคาร Palais des Nations สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติประจำทวีปยุโรป รัฐบาลจีนถือว่า หาก
ภาษาเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ต้องการของโลกมากเพียงใด แสดงให้เห็นว่าประเทศและชนชาติที่ใช้
ภาษาดังกล่าว ก็จะเป็นประเทศที่มีความสำคัญและเป็นที่นับหน้าถือตาจากผู้คนทั้งโลกมากเท่านั้น
ก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่นี้ จีนเดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบในการผลักดันและส่งเสริมภาษาจีนให้เป็นที่
ยอมรับและเป็นภาษาที่ทุกคนต้องการร่ำเรียนมากที่สุด นโยบายส่งออกครูภาษาจีน ก็เป็นหนึ่งใน
โครงการสำคัญ และปัจจุบันนี้ จำนวนผู้ที่เข้าร่วมการสอบวัดระดับพื้นฐานทางภาษาจีน (HSK) มี
จำนวนเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยปีละ 40-50% ซึ่งอัตราดังกล่าวมีจำนวนเดียวกับการสอบวัดระดับพื้นฐาน
ภาษาอังกฤษ (TOEFL) เมื่อ 10 ปีก่อน และส่วนสำคัญของความสำเร็จอันหนึ่งของรัฐบาลพรรค
คอมมิวนิสต์จีนในการเผยแแพร่ภาษาจีนได้สะดวกรวดเร็ว ก็คือการประยุกต์ตัวอักษรชุดง่าย (简体字)
ขึ้นแทนตัวอักษรเต็ม (繁体字) พร้อมจัดชุดคำสะกดตัวอักษรโรมันพินอิน (拼音) ทำให้การศึกษา
ภาษาจีนมีความง่ายและสะดวกขึ้นมากทั้งสำหรับคนจีนเอง และคนต่างชาติ__(2) การสร้างสถาบันด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนในต่างแดน
การหันไปชำเลืองมองประเทศเพื่อนบ้าน อย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ที่ใช้วัฒนธรรมเป็น
กลไกหนึ่งในการกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในรูปแบบวัฒนธรรมนำการค้า จนได้รับ
ความนิยมไปทั่ว อย่าง J Pop และ K Pop ก็มีผลกระตุ้น ให้เกิดความต้องการแข่งขันส่งออกวัฒนธรรม
ของจีนอย่างมาก ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2547 จีนได้ก่อตั้งสถาบันขงจื่อ (บา้ งก็เรียกขงจื้อ
บางก็เรียกขงจื๊อ ขาดแต่เพียงขงจื๋อ) ขึ้นเป็นแห่งแรกในเกาหลีใต้ เพื่อเป็นเขตฐานวัฒนธรรมในต่าง
แดน โดยมีเป้าหมายพัฒนาความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดและแนบแน่นขึ้น และให้ประชาชนของทั้งสอง
ประเทศมีการไปมาหาสู่ เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมกันอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน ทั่ว
โลกได้มีการจัดตั้งสถาบันขงจื่อ (ในมหาวิทยาลัย) จำนวนกว่า 350 แห่ง และห้องเรียนขงจื่อ (ใน
โรงเรียน) จำนวนมากกว่า 500 แห่งแล้ว
นอกจากสถาบันขงจื่อ รัฐบาลของจีนยังได้จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจีนอีก 7 แห่ง ที่กรุง
พอร์ตหลุยส์ (Port Louis) มอริเชียส, กรุงโคโทนู (Cotonou) เบนิน, กรุงโซล เกาหลีใต้, กรุงไคโร อียิปต์
กรุงปารีส ฝรั่งเศส, กรุงวัลเลตตา (Valletta) มอลตา และกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี และยังมีโครงการจัดตั้ง
ศูนย์วัฒนธรรมจีนเพิ่มขึ้นอีก 10 กว่าแห่งในประเทศต่างๆ โดยประเทศกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เม็กซิโก
มองโกเลีย อินเดีย ไทย ญี่ปุ่น รัสเซีย อังกฤษ สเปน คาซัคสถาน โรมาเนีย โปแลนด์ เดนมาร์ก
เบลเยี่ยม บราซิลและสิงคโปร์ การจัดตั้งฐานที่มั่นในการเผยแพร่วัฒนธรรม จึงเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่
สำคัญอีกประการหนึ่งของจีน และไทยก็อยู่ในกลุ่มหล่าวเผิงโหย่ว เพื่อนเก่าที่จีนซี้ปึ๊กมานาน
(3) จัดกิจกรรมหรือนิทรรศการเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน
ในแต่ละปี รัฐบาลจีนทั้งส่วนกลาง และส่วนมณฑล จะสนับสนุนการออกไปจัด
นิทรรศการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมจีน ไม่ว่า การจัดนิทรรศการภาพถ่าย การส่งคณะนักแสดง
นาฏศิลป์ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม ดังเช่น ในแต่ละปี
มณฑลเสฉวนก็จะส่งนักแสดงอุปรากรเปลี่ยนหน้ากาก ที่เราคุ้นในนามของโชว์เปี้ยนเหลี่ยนไป
แลกเปลี่ยนที่ประเทศไทย หัวหน้าคณะบางคนก็ซื้อหัวโขนไทยติดไม้ติดมือมาด้วย เผื่อวันหนึ่งจะมีการ
พัฒนาฝึกเทคนิคใหม่ กลับมาจัดแสดงในชุดเปลี่ยนหน้าเห้งเจียใหัเป็นหนุมาน จนต้องมีการเตือนว่า
ของไทยเราใส่ยากเปลี่ยนยากกว่าเปี้ยนสิงจินกัง (变形金刚- Transformer) ยิ่งหากไม่ครอบครูไหว้ครู
ก่อนอาจใส่แล้วถอดไม่ออก พร้อมแนะชวนให้ไปดูภาพยนตร์เรื่อง คนโขนที่เดินสายฉายตาม
โครงการเจาะลึกจีนของกระทรวงต่างประเทศ สำหรับการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนนั้น ในแง่มุมหนึ่ง วัฒนธรรมจีนซึ่งแสดงออกมาผ่านดนตรี นาฏศิลป์
วิจิตรศิลป์ ก็ได้รับความนิยมชมชอบในฐานะวัฒนธรรมของญาติมหาอำนาจยิ่งใหญ่ใกล้ตัวที่คุ้นเคย
5
รับรู้มานาน และในอีกแง่มุมวัฒนธรรมจีนก็สามารถนำเสนอของแปลก ที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ อาทิ
กายกรรม กังฟู มายากลหรืออุปรากรเปลี่ยนหน้ากาก ที่ยากที่ผู้ชมจะค้นพบเทคนิคอันน่าอัศจรรย์
ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมจีน ได้เสนอนโยบายปฎิรูปและพัฒนาวัฒนธรรมในแผน
ยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศ 5 ปีฉบับที่ 12 โดยมีเป้าหมายของการพัฒนาด้านวัฒนธรรมที่ชัดเจน
ว่า จะต้องผลักดันวัฒนธรรมกับการค้าให้ก้าวหน้าขึ้นสู่อีกระดับ พร้อมกับปรับปรุงขอบเขตการ
ทำงานและกรอบความร่วมมือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับอิทธิพลของ
วัฒนธรรมจีนที่กำลังขยายออกไปข้างนอกอย่างต่อเนื่อง
กระทรวงวัฒนธรรมจีนรายงานว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จด้านการเผยแพร่วัฒนธรรม คือ
ในช่วงระหว่างการดำเนินแผนยุทธศาสตร์ฯ จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ
โดยตั้งเป้าที่จะจัดกิจกรรมใหญ่ระดับประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 30 กิจกรรม ซึ่งจะเชิญบุคคลที่มี
ชื่อเสียงและทรงคุณค่าด้านวัฒนธรรมระดับนานาชาติจำนวน 500 รายและยุวทูตไมตรีด้านวัฒนธรรม
อีกจำนวนกว่า 1,000 รายมาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ตลอดจน จะพยายามจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจีน
ในต่างแดน ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าจะสามารถบรรลุการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวได้จำนวน 30 แห่งทั่วโลก
โดยในโครงร่างแผนปฎิรูปและพัฒนาวัฒนธรรมของจีนระบุว่า
(1) จีนต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม โดยขยายการแลกเปลี่ยนและ
ความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มแนวคิดของกรอบความคิดด้านวัฒนธรรมในการเจรจา
ความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่งเสริมการเคารพซึ่งกันและกัน ตลอดจน เปิดกว้างและยอมรับใน
มุมมองและแนวคิดที่แตกต่างด้านวัฒนธรรม
(2) จีนต้องเร่งดำเนินการสร้างศูนย์วัฒนธรรมจีนในต่างแดน โดยต้องคำนึงถึงความ
เป็นเอนกประสงค์ สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับทุกสถานการณ์ ซึ่งศูนย์วัฒนธรรมดังกล่าวจะต้อง
ร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ อาทิ ศูนย์การศึกษา องค์กรวัฒนธรรม เพื่ออาศัยกำลังและ
ความได้เปรียบจากองค์กรท้องถิ่นเหล่านั้น ผลักดันให้เกิดปฎิสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนกับประชากร
ท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มระดับความสามารถในการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนสู่สากลอีกทางหนึ่ง
(3) จีนต้องกระตือรือร้นเพื่อค้นคว้าแสวงหาลู่ทางใหม่ๆ ในการเผยแพร่วัฒนธรรม
อย่างต่อเนื่อง อาทิ อาศัยด้านพาณิชย์ โดยผลักดันวัฒนธรรมให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทหนึ่ง
ส่งออกสู่ตลาดสากลในรูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ดี จีนก็ควรจะนำเข้าผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของวัฒนธรรม
เช่นกัน เพื่อสอดคล้องกับกลไกด้านการค้า ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญให้จีนสามารถเรียนรู้และเข้าใจ
วัฒนธรรมของต่างแดนมากขึ้น__
ไทยกับการตั้งรับต่อยรุกอย่างชาญฉลาดต่อยุทธศาสตร์เชิงรุกทางวัฒนธรรมของจีน
จากนโยบายของรัฐบาลจีนที่ประกาศผ่านกระทรวงวัฒนธรรม จีนได้แสดงท่าทีชัดเจน
ในการส่งออกวัฒนธรรมไปยังต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์ของจีนก็แสดงสปิริตถึงความ
ต้องการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศอื่น แม้ว่าการแลกเปลี่ยนนั้นอาจจะหาความเสมอภาค
เท่าเทียมได้ยาก
ปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้มีสถาบันขงจื่อ 12 แห่ง ห้องเรียนขงจื่อ 11 แห่ง โรงเรียน
กว่า 3,000 แห่ง เปิดสอนภาษาจีน และผู้เรียนภาษาจีนในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 8 แสนคน
เป็นประโยคชี้แจงข้อมูลล่าสุดที่ ฯพณฯ ก่วน มู่ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ได้กล่าวรายงาน
ต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2555 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในพิธีเปิด
โครงการ ครูอาสาสมัครสอนภาษาจีนซึ่งสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ
หรือ ฮั่นปั้น (Han Ban : 汉办) ได้ส่งครูอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาจีนในประเทศไทยอีก 1,200 คน
และมีโครงการที่จะนำอาสาสมัครที่เป็นนักเรียนนักศึกษาประมาณอีก 4,000 คน มาช่วยสอนภาษาจีน
ให้กับนักเรียนไทยเพิ่มเติมอีก สำหรับโครงการของฮั่นปั้น นอกจากจะสอนภาษาแล้ว ยังมีกิจกรรม
สอดแทรกวัฒนธรรมมากมายที่ถ่ายทอดเข้าสู่ลูกหลานชาวไทย อาทิ การสอนขับร้องเพลงจีน การสอน
นาฏศิลป์จีน และการเปิดคอร์สสอนให้นักเรียนตัวเล็กให้ร่วมทำบ๊ะจ่าง รอรับเทศกาลตวนอู่ที่จะมีขึ้น
โดยธรรมชาติของคนไทยนั้น เป็นคนใจกว้างเปิดรับและยินดีเรียนรู้วัฒนธรรม
ต่างชาติเสมอมา ด้วยลักษณะนิสัยนี้ของคนไทยทำให้การเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมของต่างชาติ
รวมทั้งจีนเอง ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีและไม่มีอุปสรรคท้าทายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม
ประเทศไทยแม้จะเล็กหากเทียบกับมังกรยักษ์อย่างจีน แต่ก็เป็นราชอาณาจักรที่มีการสืบสานทาง
วัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องและมีความความโดดเด่นเฉพาะตัว มีสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของตนเอง
อย่างมากมาย รวมทั้งไม่มีปมแค้นในประวัติศาสตร์กับจีนแบบชาว J Pop การเสพวัฒนธรรมไทยเอง
จึงกลายเป็นตัวเลือกสำคัญของคนจีนที่แสวงหารสนิยมที่แตกต่างและความมีระดับ และมีความ
เป็นไปได้สูงที่ไทยจะสร้างแบรนด์ T Pop บุกตลาดจีน หากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยพยายาม
การที่ไทยไม่ได้เป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีกลไกการบริหารจัดการและ
งบประมาณรองรับที่ท่วมท้น การส่งเสริมภาษาวัฒนธรรมไทยจึงมิอาจทำแบบขนานใหญ่หรือแยกราย
แขนงได้ หากต้องอาศัยการขายเป็นแพคเกจ เน้นการถ่ายทอดองค์รวมแห่งวัฒนธรรมอันวิจิตรของไทย
ให้คนจีนอยากเรียนรู้ นั่นหมายความว่า การจะให้คนจีนอยากรับรู้และเรียนรู้วัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะ
เป็นภาษาไทย อาหารไทย มวยไทย นาฏศิลป์ไทย เพลงไทย ตลอดจนภาพยนตร์ไทย และอะไรไทยๆ
อื่นๆ อีกมากมายนั้น ต้องใช้แนวทางผลักดันอย่างมีบูรณาการไปด้วยกันมาด้วยกัน อาทิ การจัดงาน
7
เทศกาลไทย นอกจากสินค้าไทย ก็ต้องมีดาราไทย เพลงไทย รำไทย มวยไทย อาหารไทย ร่วมด้วย
ช่วยกัน ในส่วนของการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะวิชาบังคับ วิชาเอก วิชาโท
หลักสูตรสาขาปริญญาตรี จบแล้วหางานทำที่ใช้ภาษาไทยได้แล้ว ก็ควรสนับสนุนให้นักเรียนจีนที่อาจ
อยากเรียนภาษาไทยเป็นวิชาเลือกได้มีโอกาสเรียนเสริมหรือนอกเวลา เพื่อให้โอกาสแก่นักศึกษาหนุ่ม
ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะได้มีโอกาสไปผจญภัยใต้ทะเล ดำน้ำดูปะการังที่กระบี่ เมื่อเรียนจบได้งานเก็บเงิน
ก้อนแรกได้สำเร็จ หรือนักศึกษาสาวที่หวังว่าวันหนึ่งจะได้ร่วมชูป้ายกริ๊ดที่สนามบินตะโกนกล่าวคำว่า
ฉันรักคุณกับนักแสดงไทยชื่อ .” หรือกรณีของน้องนักเรียนที่พยายามสะกดเสียงภาษาไทยเพี้ยนๆ
โดยใช้ตัวพินอิน เพื่อที่จะร้องเพลงไทยของ พี่บี้ศิลปินคนโปรดบนหน้าจอคาราโอเคะ ดังนั้น การ
เผยแพร่วัฒนธรรมไทย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำตามแบบหรือแยกแขนง แต่ต้องจัดไปทั้ง
องคพยพแห่งความเป็นไทย การเตรียมงานเดินสายของดารานักแสดง นักมวย หรือนักอะไรของไทยไม่
ว่าจะสาขาไหน ก็คงต้องถ่ายทอดคุณค่าความเป็นไทยไปในขณะเดียวกัน อาทิ ไหว้อย่างไทย ร้องเพลง
ไทย รำไทย ปรุงอาหารไทยเผยแพร่และ/หรือออกอากาศให้คนจีนได้รับทราบ ทั้งนี้ หน่วยงานไทยทั้ง
ภาคราชการและเอกชนที่พอจะมีงบประมาณสนับสนุนด้านวัฒนธรรม ก็คงต้องสอดแทรกวัฒนธรรม
ความเป็นไทยแบบบูรณาการส่งออกให้เต็มที่ สิ่งเล็กๆ มากมายในวัฒนธรรมความเป็นไทย ก็สามารถ
สร้างกระแส T Pop ที่ยิ่งใหญ่ กลายเป็นความรักความชอบในความเป็นไทยได้ และโดยพื้นฐานแล้ว
คนไทยก็มีความน่ารักเป็นทุนเดิม จึงไม่ยากที่จะทำให้ใครมารักความเป็นไทยของเรา
ปรากฏการณ์ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยสู่จีนและนานาประเทศ แม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้น
อย่างเป็นระบบ แต่ก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ด้วยคุณสมบัติส่วนตัวของวัฒนธรรมไทยที่มีความวิจิตร
สวยงาม ผ่อนคลาย หลากหลาย และยืดหยุ่นสามารถผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ไม่ยาก ใน
ปัจจุบัน ที่เฉิงตูเอง ก็สังเกตได้ว่าเหล่าครูอาสาสมัครจีนจำนวนหนึ่งที่เดินทางกลับมาจากเมืองไทย
หลายคน ก็มีอาการแปลกๆ ไม่เหมือนชาวจีนทั่วไป เช่นจะผงกหัวเล็กน้อยเวลาเดินผ่านหน้าเหล่า
รถยนต์แบรนด์ดังที่ไม่ค่อยเต็มใจจอดให้คนข้าม เข้าคิวรอซื้อรอสั่งสินค้าในอาการม่านๆ (แปลว่าช้าๆ )
หรืออดไม่ได้ที่จะต้องแวะร้านอาหารไทยใกล้ๆ สัปดาห์ละครั้งเพื่อสั่งข้าวกระเพราไก่ไข่ดาวที่เคยทานที่
โรงอาหารของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. และจบวันงานด้วยการกลับบ้านดูละครไทยของสถานีอันฮุย รอ
คอยแฟนหนุ่มที่ตอนเย็นจะไปฟิตซ้อมมวยไทยที่ค่ายมวยอาโม่ โทรมาหาเพื่อราตรีสวัสดิ์ก่อนนอน
ตอนนี้ คงแค่ลุ้นรอดูว่า เทศกาลตวนอู่ในปีนี้ พวกครูจีนที่กลับมาอยู่นครเฉิงตูจะไป
ห้างโลตัส สาขาซาวานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซื้อหาทุเรียนเละๆ มาผสมยัดไส้บ๊ะจ่างมาแจกให้พวก
เรากินดังเช่นปรากฏการณ์ที่เคยเกิดแล้วในวันไหว้พระจันทร์หรือไม่นั่นเอง

ที่มา :  fw mail สพฐ ถึง chinese  center พิมายสู่ศูนย์เครือข่าย